วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

เตรียมตัวก่อนเดินทาง

คู่มือการเตรียมพร้อมในการเดินทางท่องเที่ยวเมื่อเดินทางท่องเที่ยวท่านจะได้รับความคุ้มครองหากใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่
จดทะเบียนกับสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.)อย่างถูกต้อง

เมื่อเดินทางไปเที่ยวท่านควรจะ
•เลือกใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามประเภท
  ที่ได้รัยอนุญาต(ตรวจดูเลขที่ใบอนุญาต  วัน-เดือน-ปี)  ที่ออกใบอนุญาต/ใบหมดอายุและ
  เลขทะเบียนลงนามถูกต้อง
•ตรวจสอบประวัติของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวทุกครั้ง  จากสำนักงานทะเบียนฯ ททท.
•พิจารณารายการนำเที่ยว  ให้ถูกต้องตรงตามความต้องการท่องเที่ยวในครั้งนั้น  และเมื่อ
 ตกลงใจซื้อรายการนำเที่ยวจากบริษัทดังกล่าวให้เก็บเอกสารรายการนำเที่ยว ใบเสร็จรับเงิน
 ตลอดจนเอกสารต่างๆ  ไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบภายหลัง
•หากมีการเปลี่ยนแปลงรายการนำเที่ยว  กฎหมายระบุให้ต้องได้รับความยินยอมจากท่าน
 ก่อนเสมอ  หรือกรณีผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะจัดรายการทดแทนให้ก็ต้องจัดให้เท่าเทียม
 หรือใกล้เคียงกับรายการที่ได้ตกลงกันไว้
•ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องทำประกันภัยอุบัติเหตุให้แก่นักท่องเที่ยวทุกคนด้วย

ข้อปฏิบัติในการเดินทางท่องเที่ยวทางน้ำ
การเดินทางท่องเที่ยวทางน้ำในฤดูที่เหมาะสมควรเป็นฤดูหนาวและฤดูร้อนเพราะในฤดูฝนการ
เดินทางไม่สะดวก  มีคลื่นลมเป็นอันตรายในการล่องเรือ

ข้อควรปฏิบัติ
1.ตรวจสอบสภาพอากาศ  คลื่นลมล่วงหน้าก่อนออกเดินทาง  บนเส้นทางควรตรวจ
   สอบเวลาน้ำขึ้น-ลง ล่วงหน้าเพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการเดินเรือ
2.เลือกขนาด/ประเภทของเรือให้เหมาะสมกับจำนวนที่เดินทาง  ไม่บรรทุกน้ำหนักเกินขนาดเรือ
3.สวมเสื้อผ้าที่กระชับ  รัดกุม  น้ำหนักเบา แห้งง่าย  สวมรองเท้าแตะที่ถอดง่าย เตรียมหมวก
   กันแดดและเสื้อแจ็กเก็ตผ้ากันลม
4.เตรียมถุงพลาสติก  ใส่กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ต่างๆ ป้องกันการเปียกน้ำ
5.สวมเสื้อชูชีพ หรือเตรียมห่วงยางป้องกันอันตรายเมื่อพลัดตกลงน้ำหรือเรือล่ม
6.หากนำอาหารไปรับประทานในเรือ  เลือกอาหารที่สะดวกในการพกพา  และนำขยะมาทิ้งที่ฝั่ง
7.ถ้าพลัดตกจากเรือให้รีบว่ายน้ำเข้าหาเรือหรือว่ายเข้าฝั่ง
8.ไม่ควรล่องเรือขณะที่ฝนตกหรือมีพายุ
9.ไม่หยอกล้อเล่นกัน  หรือเดินไปมาขณะล่องเรืออาจทำให้เรือล่มได้
10.ไม่ล่องเรือในเวลากลางคืน  เพราะมองเห็นเส้นทางไม่ชัดเจน  อาจเกิดอันตรายได้

เตรียมตัวเที่ยวน้ำตก


1.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำตกที่จะเดินทางไปเที่ยวในทุกๆด้าน  เช่น  รายละเอียดเกี่ยวกับการ
   เดินทาง สภาพเส้นทางและการเข้าถึงตัวน้ำตก  การขออนุญาตเจ้าของพื้นที่ในกรณีอุทยาน
   แห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าล่วงหน้าทุกครั้งก่อนออกเดินทาง  เพื่อที่จะจัดวางแผน
   การเดินทางและจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เหมาะสมก่อนการเดินทาง
2.หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพพื้นที่โดยทั่วไปรวมถึงที่พักและแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงเพื่อ
   จะได้กำหนดการเดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้น
3.ติดต่อสอบถามข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับพื้นที่ที่เราจะเดินทางไป  ไม่ว่าจะเป็นสภาพถนนล่าสุด
   สภาพอากาศ หรือความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ตามฤดูกาลที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิด
   ปัญหาที่ยุ่งยากตามมา
4.เตรียมยานพาหนะให้พร้อมหากเป็นรถที่ขับไปเองต้องตรวจสอบสภาพเส้นทางในช่วงนั้น
   เตรียมความพร้อมของพาหนะให้สมบูรณ์หากเป็นรถที่เช่าเหมาไปต้องบอกข้อมูลกับคนขับ
   ให้ทราบเพื่อการเตรียมตัว
5.รองเท้าที่เตรียมไปควรเหมาะกับสภาพของน้ำตก หากเป็นน้ำตกที่รถเข้าถึง ไม่ต้องเดินมาก
   อาจเป็นรองเท้าแตะแบบรัดส้นธรรมดาก็ได้  แต่หากต้องเดินมากในเส้นทางที่ค่อนข้างสมบุก
   สมบันควรใช้ผ้าใบที่สวมสบายๆพร้อมลุยและเปียกน้ำ
6.เตรียมอุปกรณ์แค้มป์  ตั้งแต่เสื้อผ้าเดินป่า  ชุดนอน อุปกรณ์แค้มป์และเสบียงอาหารให้พร้อม
7.บำรุงร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอทำให้การเดินป่าท่องธรรมชาติมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ข้อควรปฏิบัติ
1.เนื่องจากช่วงของการเดินทางเที่ยวน้ำตกมักอยู่ในช่วงฤดูฝนก่อนออกเดินทางจึงควรหาข้อมูล
   เรื่องน้ำป่าและระดับน้ำของสถานทีที่เราจะไป  ขณะเที่ยวชมน้ำตกควรสังเกตว่าธารน้ำมีน้ำเต็ม
   เปี่ยมและไหลแรงขึ้นการเดินข้ามหรือเล่นน้ำควรเพิ่มความระมัดระวัง เพราะน้ำป่าอาจไหล
   หลากมาอย่างรวดเร็วโดยที่เราไม่รู้ตัว
2.การเดินป่าเลาะริมลำห้วยหากจำเป็นต้องตัดข้ามไปมาบ่อยครั้งควรยอมเปียกลงลุยน้ำแทนการ
   กระโดดข้ามบนก้อนหินเพราะอาจจะเกิดอุบัติเหตุจนทำให้บาดเจ็บ
3.ไม่ประมาทหรือหยอกล้อกันบริเวณที่อันตราย เช่น ตามริมผา  น้ำตก  บนโขดหินกลางลำห้วย
   ในช่วงที่น้ำลึกไหลเชี่ยว
4.น้ำตกบางแห่งมีคำเตือนให้ห้ามเล่นน้ำในบางบริเวณ เช่น  ตามแอ่งน้ำวน  น้ำลึก  หรือที่ลาดชัน
   ก่อนถึงผาน้ำตก ควรปฏิบัติตามเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดขึ้นได้
5.ควรระมัดระวังอย่าให้การเที่ยวน้ำตกของท่านเป็นการรบกวน หรือทำลายธรรมชาติ
6.ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในการเที่ยวน้ำตก
7.ควรเคารพสิทธิ์ผู้อื่นที่เดินทางเข้าไปสัมผัสธรรมชาติร่วมกัน ด้วยการไม่ส่งเสียงรบกวนหรือกระทำ
   การอันละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและธรรมชาติอันเป็นการขัดต่อกฎหมาย
8.ไม่ทิ้งขยะในทุกพื้นที่ และช่วยกันรักษาความสะอาด

เตรียมตัวและขอควรปฎิบัติในการเที่ยว

•เตรียมครีมกันแดด  ครีมทาผิว  ชูชีพ
•ใส่เสื้อผ้าที่กระชับ  น้ำหนักเบา  ไม่อุ้มน้ำ
•เล่นน้ำบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล  หรือน้ำตื้นที่น้ำตก
•มีผู้ร่วมเล่นน้ำ  หรือบริเวณใกล้เคียงเผื่อเวลาฉุกเฉิน
•เล่นน้ำช่วงเช้า  หรือบ่ายที่อากาศไม่ร้อนจัด
•หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำที่มีแมงกะพรุน
ไม่ควร
•ลงเล่นน้ำขณะมีฝนตก  คลื่นลมแรง
•ทิ้งขยะมูลฝอยลงในน้ำ  บริเวณทางเดิน
•ออกไปเล่นน้ำไกลชายฝั่ง/บริเวณน้ำลึก
•ลงเล่นน้ำคนเดียวหรือเวลากลางคืน
•เก็บ หัก เด็ด ใบไม้ดอกไม้
•ปีนป่าย ก้อนหิน โขดหิน  หน้าผาบริเวณน้ำตก
•ขีดเขียนข้อความบนก้อนหิน

ดำน้ำ  ดูปะการัง


•ฝึกหัดอุปกรณ์ดำน้ำให้ชำนาญ
•เตรียมร่างกายให้พร้อม  ไม่อดนอน ไม่ดื่มสุรา
•เตรียมเช่าอุปกรณ์ดำน้ำให้พร้อม
•เตรียมชุดว่ายน้ำ  ครีมทาผิว
•ตรวจสอบอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนใช้งาน
•สวมชุดชูชีพให้พร้อมทุกครั้งก่อนลงน้ำ
•ผูกเรือไว้กับทุ่น  จอดเรือในที่จัดไว้
•ชมปะการังในเฉพาะจุดที่ผู้นำทางกำหนดให้เท่านั้น
•ช่วยเก็บขยะบนท้องทะเลขึ้นมาทิ้งบนฝั่ง
ไม่ควร
•ดำน้ำช่วงที่มีแสงสว่างน้อยหรือช่วงน้ำลงจัด
•ลงดำน้ำ หากร่างกายไม่แข็งแรงพอ มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
•ทิ้งผู้ว่ายน้ำที่ไม่ชำนาญไว้ลำพัง
•ว่ายน้ำออกห่างทุ่นจอดเรือมากเกินไป
•จอดเรือบริเวณแนวปะการัง
•สัมผัสหรือแตะต้องปะการัง
•ทิ้งขยะลงบนชายฝั่งหรือทะเล  เตะตะกอนทรายขึ้นมาทับถมปะการัง
•จับหรือทำลายสัตว์น้ำทุกชนิด
•เก็บปะการัง  กัลปังหา  เปลือกหอย
•ซื้อของที่ระลึกที่ทำจากปะการัง กัลปังหา  ฯลฯ


กิจกรรมล่องแก่ง

การล่องแก่งเป็นกิจกรรมเชิงผจญภัยแบบหนึ่งที่ให้ความตื่นเต้นสนุกสนานอย่างมาก 
รวมทั้งยังมีสภาพธรรมชาติ อันร่มรื่นสวยงามให้ชมตลอดสองฝั่งลำน้ำ  การล่องแก่ง
นับว่าปลอดภัยพอสมควร  หากมีการเตรียมตัวและปฏิบัติตัวโดยยึดหลักความไม่ประมาท
อย่างไรก็ตามผู้ที่สนใจล่องแก่ง ควรว่ายน้ำเป็น หากเกิดอุบัติเหตุจะช่วยเหลือตัวเองได้

ล่องแก่งที่ไหน

มีสถานที่ล่องแก่งได้อย่างสนุกสนานหลายที่ เช่น  อุทยานแห่งชาติแม่จริม  อุทยานแห่ง
ชาติออบหลวง  อุ้มผาง แก่งหินเพลิง ฯลฯ แต่ละแห่งมีเกาะแก่งและระดับความยากง่าย
ต่างกัน  และมีฤดูการล่องแก่งต่างกันด้วย  บางแห่งควรล่องที่น้ำมาก บางแห่งควรล่องใน
ช่วงน้ำน้อย  ดังนั้นควรสอบถามหรือศึกษาข้อมูลจากอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งก่อน

ข้อพึงปฏิบัติในการล่องแก่ง
•สวมหมวกนิรภัยและเสื้อชูชีพทุกครั้งที่ลงเรือ
•ตรวจความเรียบร้อยของอุปกรณ์ทุกชิ้นก่อนลงเรือ
•สวมเสื้อผ้าและรองเท้าแบบสบายๆ  ไม่หนาและรัดจนเดกินไป
•ควรมีอุปกรณ์ยังชีพในป่า
•ช่วงล่องก่งอย่ายื่นอวัยวะใดออกนอกลำเรือ  บังคับให้เท้านำหน้า  ให้น้ำพัดไปจนพ้น
 แก่งแล้วค่อยปีนกลับขึ้นเรือหรือว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง
•ที่สำคัญที่สุดคือ ปฏิบัติตามระเบียบและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด

การเตรียมของใช้เดินป่า

เสื้อผ้า  ควรเป็นเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่แห้งง่ายและสวมใส่สบายเตรียมไว้
ประมาณ 3 ชุด  ชุดหนึ่งใส่ช่วงกลางวัน  ชุดหนึ่งใส่สำหรับก่อนนอน  และชุดสุดท้าย
สำหรับใส่เดินทางกลับ เสื้อกันหนาวหรือเสื้อกันฝนก็ควรเตรียมไปด้วยตามฤดูกาลและ
สภาพอากาศของพื้นที่นั้น

รองเท้า ควรใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ  ไม่ควรมีพื้นแข็งหรืออ่อนจนเกินไปและมี
ขนาดพอเหมาะไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป และไม่มีน้ำหนักมากเกินไป  และควรสวมถุงเท้า
เพื่อป้องกันรองเท้ากัด

หมวก เพื่อใช้บังแดดและป้องกันหนามเกี่ยวศีรษะขณะเดินลอดกิ่งไม้

เป้สัมภาระ ควรมีขนาดเหมาะสมกับลำตัวของเจ้าของและจำนวนสัมภาระ  โดยปกติเป้
เมื่อใส่สัมภาระแล้วไม่ควรมีน้ำหนักเกินร้อนละ  20  ของน้ำหนักตัว  หากเป้มีน้ำหนักมาก
ควรใช้สายคาดเอวเพื่อถ่ายเทน้ำหนักส่วนหนึ่งจากที่บ่ามาให้ลำตัว  บริเวณส่วนเอวช่วยรับ
น้ำหนักด้วย

เต็นท์พักแรม
ควรใช้ขนาดและจำนวนที่เหมาะกับจำนวนคน เปลสนามก็เป็นอีกทางเลือก
หนึ่ง เพราะเบาและกะทัดรัด  แต่ที่ขาดไม่ได้เลยคือผ้าพลาสติกกางขึงเหนือเต็นท์ หรือ
เปลสนามเพื่อกันน้ำค้างและน้ำฝน


อุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ
ควรจัดอุปกรณ์ที่จำเป็นติดตัวไป เช่น ยาประจำตัว ถุงนอน ไฟฉาย
มีดเอนกประสงค์  กระติกน้ำ ชุดเครื่องครัวสนาม ถุงขยะ  ไฟแช็ก  เชือกร่มยาว  2-3 เมตร
จำนวน 2-3 เส้น

เสบียง ควรเตรียมไว้ประมาณให้เกิน 2 มื้อ เผื่อเกิดเหตุให้ต้องอยู่ป่านานกว่ากำหนด และ
ควรเผื่อเสบียงสำหรับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติที่ช่วยนำทางไว้บ้าง

ข้อพึงปฏิบัติในการเดินป่า
•เดินเรื่อยๆไม่ต้องรีบและเดินด้วยความเร็วสม่ำเสมอ
•ควรเดินเรียงเดี่ยว ให้มองเห็นคนที่เดินอยู่ข้างหน้าเสมอ หากเดินนำจนมองไม่เห็นผู้ที่เดิน
 ตามหลัง  ตามมาจนอยู่ในระยะที่มองเห็นกันได้
•ไม่ควรส่งเสียงดัง  นอกจากเปลืองพลังงานแล้ว ยังลดทอนโอกาสพบสัตว์ป่าตามเส้นทาง
•ควรพัก 5-10 นาที ทุก 1-2 ชั่วโมง  แต่อย่าพักบ่อยเกิน  เพราะจะทำให้เหนื่อยยิ่งขึ้น
•ไม่ควรเดินออกนอกเส้นทาง และไม่ควรเดินป่าตามลำพัง
•เมื่อพบแหล่งน้ำที่สามารถดื่มได้ควรเติมน้ำให้เต็มกระติกเสมอ


ข้อมูลจาก
http://www.108holidays.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538727161

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น